Search

ประวัติความเป็นมาของกฎหมายอาญาไทย

        แม้ว่าตามแนวคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญา กฎหมายควรจะมีการบัญญัติขึ้นจากเจตจำนงค์ของประชาชน ก็ตาม แต่ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในปัจจุบัน มิได้มีการบัญญัติขึ้นตามแนวคิดดังกล่าว หากแต่เป็นการเร่งรัดและรีบให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้กฎหมายมีความ เหมาะสมตามกาลสมัยที่พัฒนามาจาก กฎหมายลักษณะอาญา รศ.๑๒๗ เพื่อให้กฎหมายมีความทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ (ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย เป็นผู้ร่างประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙)

หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป

        1. กฎหมายอาญาต้องแน่นอนชัดเจนคือ “ถ้อยคำ” ในบทบัญญัติกม.อาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดี ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย และอำเภอใจผู้พิจารณาคดี
        2. ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (การให้เหตุผลโดยอ้างความคล้ายคลึงกัน) ลงโทษทางอาญาแก่บุคคล
        3. กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษการกระทำที่ผ่านมาแล้วเป็นกม.ที่ใช้ใน ขณะกระทำการนั้นกม.อาญาในที่นี้ คือ บทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการกระทำผิดและโทษ (Nullum crimen, nulla peona sina lega หรือ No crime, no punishment without law)
        4. กฎหมายอาญาต้องแปลหรือตีความโดยเคร่งครัด ความเข้าใจที่ว่าหากตีความตามตัวอักษรแล้วหากข้อความนั้นไม่ชัดเจนจึงค่อย พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ที่ถูกต้องคือ การตีความกฎหมายอาญาจะต้องตีความทั้งตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไป พร้อมๆกัน โดยไม่สามารถเลือกตีความอย่างใดอย่างเพียงอย่างเดียวก่อนหรือหลังได้ การตีความกฎหมายดังที่กล่าวมาจึงอาจมีการตีความอย่างแคบหรืออย่างกว้างก็ได้ ทั้งนี้ เกิดจากการพิจารณาตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ของกฎหมายไปพร้อมๆกัน โดยอาจกล่าวได้ว่ามีแต่การตีความกฎหมายนั้นมีแต่การตีความโดยถูกต้องเท่า นั้น และการที่กฎหมายอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดนั้น หมายความว่า ห้ามตีความกฎหมายเกินตัวบท โดยในกรณีที่เกิดช่องว่างของกฎหมายขึ้นจากการตีความที่ถูกต้องแล้ว จะไม่สามารถนำกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง (Analogy) มาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำได้
        5. ห้ามใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นลงโทษทางอาญาแก่บุคคล เพราะตัวบทมาตรา 2 ใช้คำว่า “บัญญัติ” และสอดคล้องกับข้อ 1 เพราะจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่องของแต่ละท้องถิ่น ไม่ชัดเจนแน่นอน แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประเภทของความผิด

        ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ
        1. ความผิดในตัวเอง คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
        2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการเกิดความผิด

        กฎหมายอาญาแบ่งลักษณะของการกระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ
        1. ความผิดโดยการกระทำ
        2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
        3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา

        โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญา ตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยว กับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการ กระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม