Search

        ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง
        ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
ข้อสังเกต  ทรัพย์ นอกจากหมายความรวมถึงวัตถุมีรูปร่างแล้ว จะต้องเป็นวัตถุที่อาจมีราคาและอาจถือเอาได้ด้วยตามความหมายของทรัพย์สิน
        “อาจมีราคาและอาจถือเอาได้” วัตถุ มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างจะเป็นทรัพย์และทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่ออาจมีราคา และอาจถือเอาได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สิน
ข้อสังเกต ร่างกายของมนุษย์ถ้ารวมอยู่ในส่วนของร่างกายไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่ถือว่าป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ถ้าขาดออกหรือหลุดออกมาแล้วก็อาจเป็นทรัพย์ได้ เช่น เส้นผมหรือเล็บมือ เป็นต้น ในส่วนของศพจะเป็นทรัพย์หรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อยุติและแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ยังไม่ชัดเจน กรณีสิทธิต่างๆ นั้น แม้จะไม่มีรูปร่าง แต่หากมีราคาและอาจถือเอาได้ ศาลฎีกาก็เคยมีคำพิพากษาว่าเป็นทรัพย์สิน เช่น
        1. หุ้นในบริษัท
        2. สิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย
        3. สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
        4. สิทธิในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตร     
        กรณีเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปตามมาตรา 1

ประเภทของทรัพย์สิน

        1. อสังหาริมทรัพย์
        2. สังหาริมทรัพย์
        3. ทรัพย์แบ่งได้
        4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้
        5. ทรัพย์นอกพาณิชย์

อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์

        1. อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินจะต้องมีเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอ แต่สังหาริมทรัพย์อาจจะไม่มีเจ้าของก็ได้
        2. ทรัพย์สิทธิบางอย่าง ได้แก่ สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ มีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ส่วนในสังหาริมทรัพย์ไม่มีสิทธิดังกล่าว
        3. ระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีระยะเวลา ๑๐ ปี แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์มีระยะเวลาครอบครองปรกักษ์ ๕ ปีเท่านั้น
        4. การทำนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนหรือการก่อตั้งสิทธิต่างๆ ในอสังหาริมทรัพย์ โดยปกติจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไม่งั้นเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์หรือไม่ บริบูรณ์ แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ปกติไม่ได้กำหนดแบบไว้ ยกเว้นกรณีสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำตามแบบ
        5. แดนกรรมสิทธิ์มีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น สังหาริมทรัพย์ไม่มีแดนกรรมสิทธิ์
        6. สิทธิของคนต่างด้าวในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีข้อจำกัด แต่ในสังหาริมทรัพย์โดยปกติไม่มีข้อจำกัด

        อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอัน เดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
        สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
อสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยทรัพย์สิน ๔ ประเภท คือ
        1. ที่ดิน
        2. ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่มีลักษณะเป็นการถาวร
        3. ทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
        4. ทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้

        ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว
        ทรัพย์แบ่งไม่ได้ ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้ นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย
        การแบ่งประเภททรัพย์ออกเป็นทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้ ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของรวม เพราะถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ก็มักไม่มีปัญหา สามารถแบ่งได้ตามส่วน แต่หากเป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้อาจต้องมีวิธีแบ่งอย่างอื่น เช่น นำทรัพย์ไปขายเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน เป็นต้น
        ทรัพย์แบ่งได้ มีองค์ประกอบดังนี้
                1. ต้องเป็นทรัพย์ที่สามารถแยกออกจากกันได้
                2. เมื่อแยกออกจากกันได้แล้วไม่เสียสภาพรูปทรงไป
        ทรัพย์แบ่งไม่ได้ มีองค์ประกอบดังนี้
                1. ทรัพย์แบ่งไม่ได้โดยสภาพ
                2. ทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้

ทรัพย์นอกพาณิชญ์

        ทรัพย์นอกพาณิชย์ ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์มีความหมาย ๒ ประการ คือ
        1. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
        2. ทรัพย์ที่โอนแก่กันไม่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์นอกพาณิชย์ที่กฎหมายห้ามโอนจะต้องมีอยู่ ๒ ประการ คือ
                1. ต้องเป็นการห้ามโอนโดยกฎหมายบัญญัติไว้
                2. ลักษณะของการห้ามโอนจะต้องเป็นการห้ามโอนโดยถาวร

ส่วนควบ

        ส่วนควบของทรัพย์ ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญใน ความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
        องค์ประกอบของส่วนควบ
        1. เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของตัวทรัพย์ มีอยู่ 2 ลักษณะคือ
                1.1 โดยสภาพของตัวทรัพย์เอง
                1.2 โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
        2. ทรัพย์ที่มารวมกันนั้นไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป

สรุปเรื่องของกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ

        1. กรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานตามมาตรา 144 วรรคสอง มีความสำคัญหรือมีอำนาจเหนือกว่าคนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในส่วนควบมาในลักษณะของกรรมสิทธิ์โดยทั่วๆ ไป
        2. เจ้าของทรัพย์เป็นประธานเป็นเจ้าของส่วนควบตามมาตรา ๑๔๔ วรรคสอง ซึ่งเป็นการได้มาโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน
        3. การก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินในกรรมสิทธิ์ในตัวส่วนควบแยกต่างหากออกจาก กรรมสิทธิ์จากทรัพย์ที่เป็นประธานนั้นจะมีผลผูกพันบุคคลภายนอกได้ก็ต่อเมื่อ ได้ก่อตั้งขึ้นมาในลักษณะที่เป็นสิทธิเหนือพื้นดินตามมาตรา ๑๔๑๐
        4. การก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา ๑๒๙๙ คือต้องจดทะเบียน ถ้าไม่จดทะเบียนก็ไม่บริบูรณ์ในฐานะเป็นทรัพยสิทธิ แต่แม้จะมิได้จดทะเบียนก็สามารถบังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิ  แต่จะใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้

อุปกรณ์

        อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของ ทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัด ดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับ เข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
        อุปกรณ์ ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
        อุปกรณ์ ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
องค์ประกอบของการเป็นอุปกรณ์
        1. อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์ที่เป็นประธาน
        2. อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
        3. อุปกรณ์จะต้องไม่มีสภาพรวมกับทรัพย์ที่เป็นประธานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้
        4. อุปกรณ์ต้องไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่เป็นประธานด้วยกันหรือมีความสำคัญเท่ากัน
        5. อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นเจ้าของเดียวกันกับทรัพย์ที่เป็นประธาน
        6. อุปกรณ์จะต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ
                6.1 พิจารณาจากปกตินิยมเฉพาะถิ่น
                6.2 พิจารณาจากเจตนาของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน
        7. อุปกรณ์ต้องใช้ประจำเป็นอาจิณกับทรัพย์ที่เป็นประธานเพื่อประโยชน์ในการจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน

ดอกผล

        ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
        ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
        สาระสำคัญดอกผลนิตินัย
        1. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์หรือเป็นประโยชน์
        2. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์
        3. ดอกผลนิตินัยจะต้องตกได้แก่ผู้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์เป็นการตอบแทนจากการที่ผู้อื่นได้ใช้ตัวแม่ทรัพย์นั้น
        4. ดอกผลนิตินัยจะต้องเป็นดอกผลที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นครั้งคราว
        ผู้ใดมีสิทธิ์ในดอกผล เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นเจ้าของดอกผลของตัวแม่ทรัพย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นดอกผลนิตินัยหรือดอกผลธรรมดา
        ข้อยกเว้นที่ผู้อื่นมีสิทธิในดอกผล
        1. มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น
                1.1 ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรส (มาตรา 1474 3))
                1.2 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่ (มาตรา 415 วรรคหนึ่ง)
                1.3 ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้มีสิทธิเอาคืน ผู้นั้นไม่ต้องคืนดอกผลคราบเท่าที่ยังสุจริตอยู่ เมื่อใดรู้ว่าจะต้องคืนก็ถือว่าไม่สุจรติแล้ว (มาตรา 1376)
        2.มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น
        3.บุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์นั้นมีสิทธิเอาดอกผลไปชำระหนี้ที่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นหนี้ตน

ทรัพย์สิทธิ

        ทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพยสินหรือเป็นสิทธิที่อยู่เหนือทรัพย์สิน นั้นอันจะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้โดยตรงและการก่อตั้งทรัพยสิทธิได้ นั้นจะต้องมีกฎหมายรองรับบุคคลสิทธิ เป็นสิทธิเกิดขึ้นจากสัญญาเป็นหลัก เป็นสิทธิที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นก่อตั้งขึ้น บังคับได้แต่เฉพาะตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีเท่านั้น
        ข้อแตกต่างระหว่างทรัพย์สิทธิกับบุคคลสิทธิ
        1. ทรัพยสิทธิเป็นสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพยสินโดยตรง ใช้ยันได้กับทุกคน ในการจำหน่าย จ่าย โอน ติดตามเอาทรัพย์นั้นหรือห้ามคนอื่นเข้าเกี่ยวข้อง แต่บุคคลสิทธิเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือตัวบุคคล ใช้บังคับได้แต่เฉพาะตัวบุคคลที่เป็นคู่กรณีและผู้สืบสิทธิของคู่กรณีเท่า นั้น ลักษณะของบุคคลสิทธิเป็นเรื่องให้กระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน
        2. การก่อตั้งทรัพยสิทธิจะต้องมีกฎหมายรองรับ ส่วนบุคคลสิทธิโดยทั่วไปจะก่อตั้งขึ้นมาโดยนิติกรรมสัญญา แต่บางกรณีสิทธิที่เป็นบุคคลสิทธิอาจจะเกิดจากการที่มีกฎหมายรองรับว่ามี บุคคลสิทธิได้ ซึ่งเรียกว่านิติเหตุ
        3. ทรัพย์สิทธิก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไปที่จะต้องยอมรับนับถือ ที่จะต้องเคารพคนที่เป็นเจ้าของทรัพยสิทธิหรือคนที่ทรงทรัพยสิทธินั้น ส่วนบุคคลสิทธิใช้บังคับได้แต่เฉพาะคู่กรณีหรือผู้สืบสิทธิของคู่กรณีเท่า นั้น
        4. ทรัพยสิทธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังคงใช้หรือคงมีอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ในเวลาต่อมาก็ตาม ส่วนบุคคลสิทธิต้องใช้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถ้าไม่ใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะบังคับใช้ไม่ได้ซึ่งเราเรียกว่าอายุความ

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์

       “มาตรา ๑๒๙๙ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้า หน้าที่
        ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดย สุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว”
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มีอยู่ ๒ ประการ
        1. การได้มาโดยทางนิติกรรม
        2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม อาจได้มาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                2.1 การได้มาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
                2.2 การได้มาโดยทางมรดก
                2.3 การได้มาโดยคำพิพากษา
ข้อยกเว้นของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรม
        หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
      การได้มาโดยทางนิติกรรมแม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนแล้วก็ตาม แต่หากผู้โอนไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิที่จะโอนอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้นั้น ผู้รับโอนก็จะไม่ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์นั้น
ข้อยกเว้นหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน
        1. กรณีเรื่องตัวแทนเชิดตามมาตรา 821 ถ้าบุคคลภายนอกสุจริต ก็จะไม่นำหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้
        2. การได้กรรมสิทธิ์มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตามมาตรา 1299 วรรคสอง
        3. การโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทาง เสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน บุคคลผู้นั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่จะเพิกถอนทะเบียนบุคคลภายนอกผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้ ตามมาตรา 1300
        4. สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่เสียไป ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างภายหลังตามมาตรา 1329
        5. สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้นไม่เสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลายตามมาตรา 1330
        6. สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้นไม่เสียไปถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ ได้ว่าเงินนั้นไม่ใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มาตามมาตรา 1331
        7. บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาตามมาตรา 1332

การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

        “มาตรา ๑๓๐๐ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริม ทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้”
องค์ประกอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกับบุคคลภายนอกได้ตามมาตรา 1300
        1. จะต้อมมีบุคคลหนึ่งเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนใน อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นได้อยู่ก่อน และบุคคลนั้นจะต้องเสียเปรียบจากการที่มีการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นให้บุคคลภายนอกไป
        2. บุคคลภายนอกที่ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริม ทรัพย์อันเดียวกันนั้นไป จะต้องจดทะเบียนรับโอนโดยไม่เสียค่าตอบแทนหรือไม่สุจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลภายนอกที่รับจดทะเบียนรับโอนไปนั้นเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตก็จะ เพิกถอนไม่ได้
บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนมีอยู่ ๒ กลุ่ม คือ
        1. บุคคลที่ได้อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และยังมิได้จดทะเบียนการได้มานั้น (มาตรา 1299 วรรคสอง)
        2. บุคคลผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริม ทรัพย์โดยนิติกรรมเรียบร้อยแล้วทุกอย่าง เพียงแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น (มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง)
       สรุป ในกรณีที่เป็นสัญญาเสร็จเด็ดขาดที่เหลือเฉพาะแต่เพียงไปจดทะเบียนโอนให้แก่ กันเท่านั้น คนที่มีสิทธิตามสัญญาก็ถือว่าอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ ก่อน แต่ถ้าเป็นสัญญาประเภทจะ คนที่มีสิทธิตามสัญญาเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่ถือว่าอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียน สิทธิได้อยู่ก่อนอันจะอ้างมาตรา ๑๓๐๐ มาเพิกถอนการโอนให้แก่บุคคลภายนอกได้ ถ้าจะเพิกถอนก็ต้องไปอาศัยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา ๒๓๗

 

บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกัน

       มาตรา ๑๓๐๓ ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่าง กันไซร้ ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในครอบครองของบุคคลใด บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แต่ต้องได้ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและได้การครอบครองโดยสุจริต
        ท่านมิให้ใช้มาตรานี้บังคับถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ในมาตราก่อนและในเรื่องทรัพย์สินหาย กับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำผิด
        ดังนั้น สังหาริมทรัพย์อยู่ในความครอบครองของใคร คนนั้นก็จะมีสิทธิในสังหาริมทรัพย์นั้นดีกว่า โดยมีเงื่อนไขอยู่ ๒ ประการ คือ
        1. คนที่มีสังหาริมทรัพย์อยู่ในความครอบครองจะต้องได้สังหาริมทรัพย์มาโดยมีค่าตอบแทน
        2. การครอบครองที่ได้มานั้นจะต้องได้มาโดยสุจริต

ทรัพย์สินของแผ่นดิน

        1. ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา ซึ่งอาจจะเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ได้หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
        2. ทรัพย์สินของแผ่นดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งทรัพย์ใดจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                2.1 เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
                2.2 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกันตามมาตรา 1304 ได้แก่
                    2.2.1 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน
                    2.2.2 ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
                    2.2.3 ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าป้อม และโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
การสิ้นไปของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
        สภาพหรือสถานะของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอาจจะมีการเพิกถอนได้ แต่การเพิกถอนสภาพของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะทำได้ก็โดยมีกฎหมาย เฉพาะ เมื่อมีการเพิกถอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วที่ดินแปลงนั้น ก็จะกลับมาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามธรรมดา
        ตามประมวลกฎหมายที่ดินถ้า เป็นการเพิกถอนสภาพเพราะไม่ใช้หรือจะไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็จะทำโดยพระราช กฤษฎีกา แต่ถ้าเป็นการโอนก็จะต้องทำโดยพระราชบัญญัติ แต่ถ้านำไปจัดสรรซึ่งมีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจก็ทำโดยพระราชกฤษฎีกา
การหมดสภาพจาการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
        1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นได้มีการเลิกใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเด็ดขาด หรือเลิกสงวนไว้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเด็ดขาด ถ้าเพียงแต่เลิกใช้เพียงชั่วคราว ก็ยังไม่สิ้นสภาพ ยังมีสถานะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่
        2. สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นถูกทำลายไปทั้งหมด
        3. สาธารณสมบัติของแผ่นดินถูกโอนหรือเวนคืนไปเป็นของเอกชนโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผลของการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
        1. จะโอนแก่กันไม่ได้เว้นแต่อาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
        2. ห้ามยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
        3. ห้ามยึดทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์

        1. การได้มาโดยทางนิติกรรม
        2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรมหรือการได้มาโดยผลของกฎหมาย
ประเด็นเกี่ยวกับที่งอกริมตลิ่ง
        มาตรา ๑๓๐๘
  ที่ดินแปลงใด เกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอก ย่อมเป็น ทรัพย์สิน ของเจ้าของที่ดิน แปลงนั้น
ลักษณะของที่งอกริมตลิ่ง
        ก.  ที่งอกริมตลิ่งต้องเป็นที่ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมไม่ถึง
        ข.  ที่งอกริมตลิ่งจะต้องเป็นที่งอกจากที่ดินที่เป็นประธานออกไปในแม่น้ำ ลักษณะของการงอกจะต้องเป็นการงอกโดยธรรมชาติ
เกาะและริมทางน้ำตื้นเขิน
        มาตรา ๑๓๐๙ เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือ ในทางน้ำ หรือ ในเขตน่านน้ำของประเทศ ก็ดี และ ท้องทางน้ำที่เขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา ๑๓๑๐  บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้น เพราะสร้างโรงเรือนนั้น ให้แก่ ผู้สร้างแต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับ โรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้ จะทำไม่ได้ โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม ราคาตลาดก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นตามมาตรา 1310
         เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น แต่จะต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นแก่ผู้ สร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินแสดงได้ว่าไม่ได้มีความประมาทเลินเล่อ ก็มีสิทธิที่จะให้ผู้สร้างรื้อถอนออกไปพร้อมทั้งทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมได้
         ความสุจริตตามมาตรา 1310 นั้น จะต้องมีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนกว่าจะสร้างเสร็จ
มาตรา ๑๓๑๐ ใช้กับที่ดินที่เป็นของเอกชนเท่านั้น ในกรณีที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะอ้างมาตรา 1310 ไม่ได้
สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
        มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิม แล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดิน ต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือกใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับมาตรา 1310
สร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้
        ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้น กระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไปและทำที่ดินให้เป็นตามเดิม โดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
ผลของการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
        มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าบุคคลผู้สร้างเรือนรุกล้ำนั้น เป็นเจ้าของ โรงเรือน ที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงิน ให้แก่ เจ้าของที่ดิน เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และ จดทะเบียนสิทธิ เป็น ภาระจำยอม ต่อภายหลัง ถ้า โรงเรือนนั้น สลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดิน จะเรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนเสีย ก็ได้
เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น
        มาตรา 1313
 ถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น และ ภายหลังที่ดินตกเป็นของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
“เจ้าของที่ดินมีเงื่อนไข” ตามความหมายของมาตรา 1313 อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
        1. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง (สิ้นผลเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ)
        2. เป็นเจ้าของที่ดินที่มีเงื่อนไขห้ามโอนตามมาตรา 1700 หรือเรียกว่าข้อกำหนดห้ามโอนสร้างสิ่งอื่น ปลูกต้นไม้ หรือธัญชาติในที่ดินของผู้อื่น
        มาตรา 1314 ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 1310, 1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ ซึ่งติดที่ดิน และการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม
        แต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่น อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริตหรือผู้เป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีเงื่อนไขซึ่งได้เพาะปลูกลงไว้นั้น คงครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยว โดยใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันที โดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
สร้างโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่นหรือการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตนเองด้วยสัมภาระของผู้อื่น
        มาตรา 1315
 บุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือ เพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของตน ด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้น เป็นเจ้าของสัมภาระแต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ
การเอาสังหาริมทรัพย์มารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ
        มาตรา 1316 ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบ หรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วน ตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
การเอาสัมภาระของผู้อื่นมาทำเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นใหม่
        “มาตรา 1317 บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้น โดยมิต้องคำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงานแต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ”
การได้มาโดยเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือ เอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตรา 1318 มีหลักเกณฑ์อยู่ ๒ ประการคือ
            1. สังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ
            2. ต้องมีการเข้าถือเอา
        เมื่อ เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ประการนี้ ก็จะได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในตัวสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ทั้งนี้การเข้าถือเอาจะต้องไม่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่ จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น
        มาตร 1319 ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้ ท่านว่าสังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
        มาตรา 1320 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่า สัตว์ป่าไม่มีเจ้าของตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์ และปลาในบ่อหรือในที่น้ำ งเจ้าของกั้นไว้นั้น ท่านว่าไม่ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ
        สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น ถ้ามันกลับคืนอิสระและเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตามเสียแล้ว ฉะนี้ท่านว่าไม่มีเจ้าของสัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้วถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
สัตว์ป่าตามมาตรา 1320 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
        1. สัตว์ป่าที่ยังเป็นอิสระอยู่
        2. สัตว์ป่าที่ถูกจับแล้วและต่อมากลับคืนเป็นอิสระเพราะเจ้าของไม่ติดตามทันทีหรือว่าเลิกติดตามเสีย
        3. สัตว์ที่เลี้ยงเชื่องแล้วทิ้งที่อยู่ไป
        มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดีหรือจับได้ ในที่ดินหรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของ มิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์
        มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไป และบุคคลอื่นจับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือสัตว์นั้นตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าบุคคลแรกเป็นเจ้าของสัตว์บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย
        มาตรา 1323 บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด ดั่งต่อไปนี้
            1. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่น ผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้น หรือ
            2. แจ้งแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของหรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น โดยมิชักช้า หรือ
            3. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายในสาม วัน และแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบ อันเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
แต่ถ้าไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินก็ดีหรือบุคคลดั่งระบุนั้นไม่รับมอบ ทรัพย์สินก็ดี ท่านให้ดำเนินการตามวิธีอันบัญญัติไว้ในอนุมาตรา (3)
        ทั้งนี้ ท่านว่าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังอันสมควรจนกว่าจะส่งมอบ
        ทรัพย์สินหาย หมายถึง ทรัพย์ที่มีเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นหาไม่พบหรือไม่อาจหาพบได้ แต่ถ้าเขายังติดตามอยู่และมีโอกาสที่จะพบได้ เช่นนี้ยังไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินหาย เพราะยังไม่ขาดจากการยึดถือครอบครองของเจ้าของหรือคนที่มีสิทธินั้น
หน้าที่ของผู้ที่เก็บทรัพย์สินหาย
        1. ต้องคืนให้แก่เจ้าของคนที่ทำหายหรือคนที่มีสิทธิจะรับไว้
        2. ต้องมอบให้แก่เจ้าของโดยไม่ชักช้าหรือมิฉะนั้นต้องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานอื่นในกรณีที่ไม่ทราบตัวผู้เสียหาย
        3. ต้องรักษาทรัพย์สินที่เก็บได้ด้วยความระมัดระวังตามสมควรจนถึงวันจะส่งมอบ